การประมูล ของ เกย์เกมส์ 2023

ใน พ.ศ. 2557 แด็นนิส ฟิลิปส์ (Dennis Philipse) ชาวดัตช์ที่มีถิ่นพำนักในฮ่องกง ได้ก่อตั้งกลุ่มชุมชน OUT ในฮ่องกงเพื่อสร้างกลุ่มทำงานเชิงรุกในฮ่องกง เขามีความทรงจำของงานเกย์เกมส์ใน พ.ศ. 2541 ที่อัมสเตอร์ดัม ทำให้มีความฝันที่จะนำการจัดงานเกย์เกมส์มาสู่ทวีปเอเชียเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ 40 ปีของรายการ ในปี 2557 เขาได้ริเริ่มจัดตั้งองค์กรอาสาสมัคร GGHK และติดต่อกับสหพันธ์เกย์เกมส์เพื่อเข้าร่วมกระบวนการประมูล กระบวนการเสนอราคาประกอบด้วยการยื่นเอกสารข้อเสนอประมูลขนาด 300 หน้า ในเดือนมีนาคม 2560 มีการประกาศรายชื่อเมืองที่เข้ารอบสุดท้ายของการประมูล ได้แก่ ฮ่องกง วอชิงตัน ดี.ซี. และกัวดาลาฮารา ในเดือนพฤษภาคม 2560 เมืองที่อยู่ในรายชื่อทั้งหมดได้รับการตรวจประเมินสถานที่จัดงานเป็นเวลา 4 วัน และในเดือนตุลาคม 2560 แต่ละเมืองที่เข้าร่วมได้ทำการนำเสนอรายงานฉบับสุดท้ายในปารีส ตามด้วยการลงคะแนนเสียงและการประกาศเมืองที่ชนะการประมูล

ฮ่องกงได้รับการประกาศให้เป็นเมืองเจ้าภาพการแข่งขันเกย์เกมส์ครั้งที่ 11 ในงานกาล่าที่ออแตลเดอวีล ศาลาว่าการกรุงปารีส เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2560 โดยชนะด้วยคะแนนเสียงข้างมากอย่างชัดเจนในการลงคะแนนรอบแรกโดยผู้แทนของสมาพันธ์เกย์เกมส์ เป็นครั้งแรกที่งานจะจัดขึ้นในเอเชีย

ในเดือนเมษายน 2559 มีการประกาศรายชื่อขั้นต้นของเมืองต่าง ๆ ที่สนใจเข้าร่วมประมูลจัดงานเกย์เกมส์ครั้งที่ 11 ในปี 2565 มีเมืองที่มีความสนใจในการประมูลถึงสิบเจ็ดเมืองซึ่งมากเป็นประวัติการณ์ เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2559 สมาพันธ์เกย์เกมส์ประกาศว่า 11 เมืองได้ยื่นหนังสือแสดงเจตจำนงเพื่อประมูลอย่างเป็นทางการแล้ว โดยแอนะไฮม์, แอตแลนตา, ดิมอยน์, แมดิสัน, มินนีแอโพลิส และแซนแอนโทนีโอ ตัดสินใจที่จะไม่ยื่นเสนอประมูล ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2559 เก้าเมืองได้ยื่นค่าธรรมเนียมการลงทะเบียนครั้งที่สองเพื่ออยู่ในกระบวนการเสนอราคา ทั้งเคปทาวน์และเทลอาวีฟได้ถอนตัวในขั้นตอนนี้ โดยระบุความจำนงที่จะประมูลงานเกย์เกมส์ครั้งที่ 12 ในปี 2569 แทน เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2559 เมืองที่เสนอชื่อเข้าชิงทั้งหมด 8 เมืองยื่นเอกสารการประมูล โดยที่ลอสแองเจลิสถูกตัดออกจากการแข่งขันในขั้นตอนนี้

รายชื่อเมืองที่ได้รับคัดเลือกสามเมืองสุดท้ายได้รับการประกาศเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2560 คือ กัวดาลาฮารา ฮ่องกง และวอชิงตัน ดี.ซี. เมืองที่เสนอตัวจะได้รับการตรวจโดยผู้ตรวจประเมินก่อนที่จะมีการตัดสินเมืองเจ้าภาพในขั้นสุดท้ายที่ปารีสในวันที่ 30 ตุลาคม[4]

ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 กัวดาลาฮาราได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพร่วมของการแข่งขันในครั้งนี้[5]

เมืองที่เข้ารอบสุดท้าย
 ฮ่องกง (เจ้าภาพหลัก)
กัวดาลาฮารา (เจ้าภาพร่วม)
วอชิงตัน ดี.ซี.
เมืองที่เข้ารอบสอง
ออสติน
แดลลัส
เดนเวอร์
ซอลต์เลกซิตี
ซานฟรานซิสโก
เมืองที่ตกรอบแรก
แอนะไฮม์
แอตแลนตา
เคปทาวน์
ดิมอยน์
ลอสแองเจลิส
แมดิสัน
มินนีแอโพลิส
แซนแอนโทนีโอ
เทลอาวีฟ

แหล่งที่มา

WikiPedia: เกย์เกมส์ 2023 https://web.archive.org/web/20140221145359/http://... http://gaygames.org/wp/wp-content/uploads/2012/07/... https://hongkongfp.com/2021/09/15/breaking-hong-ko... https://gaygames.org/Gay-Games-11 https://www.prnewswire.com/news-releases/federatio... https://www.washingtonblade.com/2022/02/17/guadala... https://news.rthk.hk/rthk/en/component/k2/1610645-... https://hongkongfp.com/2022/02/14/hong-kong-gay-ga... https://hongkongfp.com/2021/08/06/taiwan-wont-atte... https://gghk2023.com/en/